คณะวิทยาศาสตร์มีนโยบายด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมโดยถือเป็นภาระกิจที่สำคัญของคณาจารย์ บุคลากร รวมทั้งนิสิตของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
การบริการวิชาการแก่สังคมของคณะวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1. การบริการวิชาการโดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน
2. การบริการวิชาการโดยบูรณาการร่วมกับการวิจัย
3. การบริการวิชาการโดยการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
1. การบริการวิชาการโดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน
โครงการ |
กิจกรรม |
โครงการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ : กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย จ.นครนายก สระแก้ว น่าน |
จัดการให้บริการแก่พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว โดยนำกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยอันเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดการอบรมให้ความรู้แก่ครูปฐมวัยทั้งนี้นำรูปแบบกิจกรรมมาจัดบูรณาการกับรายวิชา วทษ 431 บูรณาการวิธีวิทยาสำหรับครูวิทยาศาสตร์และหรือคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสร้างเสริมประสบการณ์ในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิด และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่นิสิต และนำความรู้ที่ได้รับร่วมให้บริการวิชาการแก่ชุมชน |
โครงการพัฒนามาตรฐานภูมิปัญญาไทยด้วยฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่า
|
เป็นการบริการวิชาการที่นำองค์ความรู้จากการออกแบบและผลิตเครื่องประดับในรายวิชา อป 447 เทคโนโลยีวัสดุในงานศิลปะ (Material Technology in Art) และอป 475 การหล่อเครื่องประดับขั้นสูง นิสิต ได้มีการนำองค์ความรู้ทางด้านเครื่องประดับไปเผยแพร่ ในโครงการที่มีความร่วมมือระหว่าง สมาคมเครื่องถมไทยและเครื่องเงินในพระบรมราชูปถัมภ์ และ กศน. อ.วัฒนานคร โดย แสดงองค์ความรู้ที่ได้เรียนมา ให้ชุมชนในท้องถิ่นเข้าใจในเครื่องประดับและสนใจฝึกอาชีพเครื่องเงิน เครื่องถม ซึ่งเป็นศิลปะอนุรักษ์ของชาติไทย |
โครงการบริการวิชาการ และแสดงผลงานนิสิต ในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fairs |
เป็นการบูรณาการกับรายวิชา อป 447 เทคโนโลยีวัสดุในงานศิลปะ (Material Technology in Art) ซึ่งจะเป็นการฝึกให้นิสิตคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ Mokume Kane และนำเสนอผลงานเผยแพร่ความรู้ควบคู่กับแสดงศักยภาพนิสิตในงานแสดงเครื่องประดับระดับนานาชาติ สำหรับงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยในวิชา Senior project ของนิสิตชั้นปีที่ 4 เป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่นิสิต
นอกจากนี้เป็นการบูรณาการกับรายวิชา อป 485 ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างประเทศ (International business) ซึ่งจะเป็นการฝึกให้นิสิตคิดนำเสนอผลงานเผยแพร่ความรู้ควบคู่กับแสดงศักยภาพนิสิตในงานแสดงเครื่องประดับระดับนานาชาติ สำหรับงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 |
โครงการฟิสิกส์สัญจร ครั้งที่11 |
เป็นการบริการวิชาการโดยการที่นิสิตถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านปฏิบัติการฟิสิกส์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนจังหวัดสระแก้วภายใต้การกำกับดูแลของคณาจารย์ จากนั้นนำองค์ความรู้จากการบริการวิชาการมาเขียนเค้าโครงงานวิจัยเพื่อนำเสนอต่อคณาจารย์ในรายวิชา วทศ 421 โครงงานสำหรับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และฝึกการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบการทดลองด้านฟิสิกส์ในรายวิชา ฟส 481 บูรณาการวิธีวิทยาสำหรับครูฟิสิกส์ |
โครงการจัดการความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม C.a.R. และ Euler เพื่อการเรียนการสอนและการวิจัย |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้นำองค์ความรู้ตัวอย่างการใช้โปรแกรม C.a.R. และ Euler จากการบริการวิชาการมานำเสนอให้นิสิตที่เรียนในรายวิชา ME 471 บูรณาการวิธีวิทยาสำหรับครูคณิตศาสตร์ โดยมีแนวคิดของการบูรณาการการใช้โปรแกรมกับการสอนเรขาคณะระดับมัธยมศึกษา และนิสิตที่ได้รับการถ่ายทอดได้นำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และใช้สอนเรื่อง ตรีโกณมิติ ในรายวิชา ME 471 บูรณาการวิธีวิทยาสำหรับครูคณิตศาสตร์ |
โครงการบริการวิชาการ เรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย”
|
เป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา BI 473 Flowering and Ornamental Plants โดยมีการต่อยอดจากการบริการทางวิชาการเป็นการทำโครงงานของนิสิต เรื่องโครงการนำเสนอผลงานของนิสิตการจัดสวนถาดสวน และโครงการศึกษาการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ในรายวิชา BI 473 |
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ |
มีการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนของภาควิชาคหกรรมศาสตร์คือรายวิชา คส 421 โภชนาการชุมชน โดยอาจารย์และนิสิตร่วมกันถ่ายทอดความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการนันทนาการให้แก่เด็กและเยาวชน และจัดทำเอกสารแผ่นพับ เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน ภาควิชา คหกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ภาควิชายังมีการนำแนวทางในการดำเนินงานโภชนาการชุมชน เผยแพร่สู่สาธารณะในเว็บไซต์ |
โครงการบริการทางวิชาการภาควิชาเคมีเรื่องเทคนิคการใช้และการบำรุงรักษาเครื่อง High performance liquid chromatography (HPLC) |
เป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือขนาดใหญ่ เพื่อให้บุคลากรของภาควิชา บุคคลทั่วไปที่เป็นเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ นิสิตปัจจุบัน รวมทั้งศิษย์เก่าของภาควิชา โดยเครื่องมือนี้เนื้อหาเกี่ยวข้องรายวิชา คม 655 เทคนิคการแยกสาร ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เป็นการฝึกนิสิตให้มีทักษะในการดูแลเครื่องมือขนาดใหญ่ |
โครงการบริการวิชาการภาควิชาเคมีแก่โรงเรียนขาดแคลน ณ. อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี |
มีการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับการเรียนการสอนกับในรายวิชา วท 431 บูรณาการวิธีวิทยาสำหรับครูวิทยาศาสตร์และ/หรือ ครูคณิตศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.วิทยาศาสตร์-เคมี) โดยนิสิตมีการเผยแพร่ความรู้ และสามารถนำมาเขียนและฝึกออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา วท 431 |
2. การบริการวิชาการโดยบูรณาการร่วมกับการวิจัย
โครงการ |
กิจกรรม |
โครงการพัฒนามาตรฐานภูมิปัญญาไทยด้วยฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่า |
ในการไปบริการวิชาการได้นำผลงานวิจัยที่จดสิทธิบัตรเรื่อง “ยาถมดำปราศจากตะกั่ว” ,มาให้ความรู้นำไปสู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาชีพช่างฝีมือเครื่องประดับอัญมณีที่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับคนในพื้นที่ และมีนิสิตที่เรียนรายวิชาเทคโนโลยีการหล่อเครื่องประดับ ได้มีการนำองค์ความรู้ทางด้านเครื่องประดับไปเผยแพร่ ในโครงการที่มีความร่วมมือระหว่าง สมาคมเครื่องถมไทยและเครื่องเงินในพระบรมราชูปถมภ์ และ กศน. อ.วัฒนานคร โดย แสดงองค์ความรู้ที่ได้เรียนมา ให้ชุมชนในท้องถิ่นเข้าใจในเครื่องประดับและสนใจฝึกอาชีพเครื่องเงิน เครื่องถม ซึ่งเป็นศิลปะอนุรักษ์ ของชาติไทย |
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ |
จาการบริการวิชาการได้มีการบูรณาการกับงานวิจัยเรื่อง “การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ผัก และผลไม้ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี” โดยศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง และ การบริโภคผักและผลไม้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง |
โครงการบริการวิชาการ Math Day Camp |
จาการบริการวิชาการได้มีการนำมาทำวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสามารถการฝึกสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในรายวิชา ME471 ของนิสิตระดับปริญญาตรี กศ.บ. (คณิตศาสตร์) ที่ผ่านการฝึกจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์”
นิสิตต้องเตรียมตัวก่อนออกไปฝึกสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่เน้นพัฒนาความสามารถในด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน นิสิตจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งการเขียนเค้าโครงวิจัยในครั้งนี้ต้องการที่จะศึกษาว่านิสิตที่ได้ผ่านการจัดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์มาแล้วจะส่งผลถึงความสามารถในการฝึกสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หรือไม่ |
โครงการการเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชนเรื่อง “การประยุกต์ใช้เครื่องวัดการดูดกลืนแสงอย่างง่ายที่ทำขึ้นเองสำหรับปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์เพื่อตรวจวัดปริมาณเอทานอลในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” |
จัดกิจกรรมบรรยายเสริมสร้างความรู้และปฏิบัติการโดยนำเครื่องมือที่ได้จากงานวิจัยที่ได้จากองค์ความรู้จากโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ เพื่อการศึกษาประสิทธิผลทางการเรียน ของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเคมี ออกไปบริการวิชาการ เผยแพร่ และทดลองหาปริมาณสารที่มีโอกาสพบในชีวิตประจำวัน |
3. การบริการวิชาการโดยการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
คณะวิทยาศาสตร์ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานของศูนย์ สอวน. โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศึกษา ของมูลนิธิ สอวน. โดยร่วมเป็นศูนย์มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงทางด้านวิชาการในสาขาวิชา เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ของศูนย์ กทม. ในแต่ละปีการศึกษาจะมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดอบรมนักเรียนในสาขาต่าง ๆ ของศูนย์ สอวน. รวมทั้งเป็นหัวหน้าทีมและรองหัวหน้าทีมในการพานักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกส์ระดับชาติ ครั้งที่ 10