โครงการบริการวิชาการกับกลุ่มเครือข่าย คณะวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ 2 การอบรมค่ายสู่ฝันวันนักวิทย์ 2

          ตามที่ คณะวิทยาศาสตร์ มีความประสงค์จะจัดโครงการบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ 2 การอบรมค่ายสู่ฝันวันนักวิทย์ 2 ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 รูปแบบออนไลน์ นั้น

          ในการนี้ จึงขอเชิญนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและคุณครู ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ โดยสามารถดูรายละเอียดกิจกรรม รวมทั้งจำนวนที่รับสมัครได้ที่ด้านล่าง

          โดยผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นอกจากจะได้รับใบประกาศจากคณะวิทยาศาสตร์แล้ว ยังสามารถขอรับใบประกาศแบบ NFT หรือใบประกาศแบบดิจิทัลได้ด้วยนะคะ

          ลงทะเบียน : คลิก หรือผ่านทาง QR Code   หรือทางแบบฟอร์มนี้ (ภายใน 9 พฤษภาคม 2565)

 

          ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนได้ 1 คน/1 กิจกรรมเท่านั้น โดยขอสงวนสิทธิ์ไม่รับเปลี่ยนกิจกรรมที่ลงในภายหลัง และเมื่อมีจำนวนผู้เข้าร่วมของแต่ละกิจกรรมถึงยอดตามที่ตั้งไว้ จะขอปิดการรับลงทะเบียนของกิจกรรมนั้นทันที

หมายเหตุ:

1. ทางคณะวิทยาศาสตร์ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปิดรับเมื่อมีผู้สมัครครบจำนวนที่เปิดรับในแต่ละหัวข้ออบรม
2. ทางคณะวิทยาศาสตร์ ขอให้สิทธิ์การสมัครกับโรงเรียนเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์ มศว ก่อน 
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับเกียรติบัตรยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมครบทั้ง 6 ชั่วโมงและทำแบบประเมินภายในเวลาที่กำหนดไว้ เป็นเกียรติบัตร online หรือแบบ NFT

กรณีต้องการเลือกรับเกียรติบัตรในรูปแบบ NFT

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องการขอใบเกียรติบัตรแบบ NFT ต้องมี Wallet ที่ใช้กับ Cryptocurrency หรือ NFT อยู่แล้ว ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำให้สร้าง wallet ใหม่สำหรับเก็บใบประกาศ NFT นี้ 
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ยังไม่มี wallet สามารถสร้างได้โดยดูจาก คลิก


รายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ

กิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม จำนวนผู้สมัครที่รับ
- นักสืบตัวเลข : ตอน ดินแดนคณิตศาสตร์พิศวง กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผ่านโจทย์ปัญหา โดยนักเรียนจะได้ร่วมคิดวิเคราะห์ปัญหาและเรียนรู้ไปพร้อมกับวิทยากรที่จะมาช่วยให้นักเรียนได้ผ่านด่านต่าง ๆ ในดินแดนคณิตศาสตร์ไปด้วยกัน 40 คน
- การเรียนรู้เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้เกม   50 คน
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีดีเอ็นเอเบื้องต้น   40 คน
- การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รายละเอียดเพิ่มเติม 20 ทีม (กลุ่มละ 1-3 คน)
- การแข่งขัน Pitching นำเสนอไอเดียนวัตกรรมทางจุลชีววิทยา รายละเอียดเพิ่มเติม 20 คน (งานเดี่ยว)
- ทรงกลมฟ้า เฟสของดวงจันทร์ ระบบพิกัดฟ้า ตำแหน่งของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ปรากฏการณ์อุปราคา ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง

วาดแผนภาพทรงกลมฟ้า แล้วทำความเข้าใจระบบพิกัดขอบฟ้าและระบบพิกัดศูนย์สูตรฟ้า ระบุตำแหน่งของดวงดาวในทรงกลมฟ้า ทำความเข้าใจแผนภาพการเกิดเฟสของดวงจันทร์ คำนวณอายุของดวงจันทร์จากวันเดือนปี หาดิถีจันทร์ในระบบปฏิทินจันทรตติไทย และบูรณาการกับปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง

75 คน
- แสงในชีวิตประจำวันกับฟิสิกส์   30 คน
- เยาวชนนักวิทย์พิชิตโควิด-19 1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์การสกัดดีเอ็นเอ
2. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ผลิตเจลแอลกอฮอล์
50 คน
- Rock your data: How data scientist works with Google sheet

- 9:00-12:00 การอบรมแนวทางการใช้ Google sheet ในการวิเคราะห์หา insight ของข้อมูล การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ

- 13:00-16:00 จับกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 3 คน ประกวดวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอให้กับกรรมการ โดยจะมีของรางวัลให้กับผู้ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกและรางวัล popular vote

รายละเอียดเพิ่มเติม

60 คน
(รับสมัครเป็นทีม จำนวนสมาชิกขั้นต่ำในทีม 2 คน ไม่เกิน 3 คน)
- นักวัสดุศาสตร์กับโลกอนาคต ให้ความรู้เกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ ว่า วัสดุศาสตร์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร โครงสร้าง สมบัติ และการนำวัสดุไปใช้งาน วัสดุในชีวิตประจำวัน วัสดุในอนาคต มีการสาธิตเกี่ยวกับวัสดุที่น่าสนใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมออนไลน์ 50 คน

กิจกรรมสำหรับคุณครู

กิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม จำนวนผู้สมัครที่รับ
- การใช้โปรแกรม GeoGebra ในการสร้างสื่อการเรียนการสอน - แนะนำการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องมือในโปรแกรม GeoGebra
- ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้โ๋ปรแกรม GeoGebra
40 คน
- ทรงกลมฟ้า เฟสของดวงจันทร์ ระบบพิกัดฟ้า ตำแหน่งของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ปรากฏการณ์อุปราคา ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง

วาดแผนภาพทรงกลมฟ้า แล้วทำความเข้าใจระบบพิกัดขอบฟ้าและระบบพิกัดศูนย์สูตรฟ้า ระบุตำแหน่งของดวงดาวในทรงกลมฟ้า ทำความเข้าใจแผนภาพการเกิดเฟสของดวงจันทร์ คำนวณอายุของดวงจันทร์จากวันเดือนปี หาดิถีจันทร์ในระบบปฏิทินจันทรตติไทย และบูรณาการกับปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง

75 คน
- การสุ่มสร้างข้อสอบหรือชุดแบบฝึกหัด AIG (Automatic item Generation) เป็นหนึ่งในรูปแบบการสร้างแบบทดสอบของ OEDC ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง PISA ถึงแม้การทำงานของ AIG จะมีแจกแจงในระดับเบื้องต้นต่อสาธารณะ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีทักษะในการเขียนโปรแกรมมาก่อน ถือเป็นการยากที่จะเริ่มต้นการสุ่มสร้างข้อสอบได้ด้วยตนเอง กิจกรรมนี้ถูกออกแบบมาให้ผู้ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อนเลยสามารถสร้างระบบ AIG ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านโปรแกรม Excel, Python และ LaTeX ได้ภายใน 6 ชั่วโมง โดยจะเริ่มตั้งแต่ติดตั้งโปรแกรมไปด้วยกัน จนกระทั้งสร้างระบบ AIG ขั้นพื้นฐาน 20 คน
- การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามกรอบการประเมิน PISA เวลา 09.00-12.00 น. อบรม หัวข้อเรื่อง
- สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามกรอบการประเมิน PISA
- แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์: การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
- ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการ
60 คน