ปฏิทินการคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565

ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ : https://admission.swu.ac.th/admissions2/index.php

ตารางสรุปองค์ประกอบการรับนิสิตระดับปริญญาตรี TCAS 1 - 3 ประจําปีการศึกษา 2565 คณะวิทยาศาสตร์

ดาวน์โหลดไฟล์ : ที่นี่

แถลงข่าว TCAS65 จาก ทปอ (22 สิงหาคม 2564) 

ดาวน์โหลดไฟล์ : ที่นี่

ข่าว/ประกาศ/ประชาสัมพันธ์ 

- ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 TCAS รอบที่ 2 Quota

ดาวน์โหลดไฟล์ : ที่นี่

- ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565 TCAS รอบที่ 1 

ดาวน์โหลดไฟล์ : ที่นี่

- เตรียมความพร้อมก่อนสมัคร SWU TCAS

ดาวน์โหลดไฟล์ : ที่นี่

TCAS65 มีกี่รอบ อะไรบ้าง?

TCAS65 มีทั้งหมด 4 รอบ แต่ละรอบ มีรายละเอียดดังนี้

           รอบที่  1 Portfolio  ไม่ใช้คะแนนสอบ ใช้แค่แฟ้มสะสมผลงาน สมัครโดยตรงกับเว็บมหาวิทยาลัย เหมาะกับน้องๆ ที่มีผลงานโดดเด่น และมีคุณสมบัติถึงตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด เพราะจะต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถต่าง ๆ

           รอบที่ 2 Quota มีการใช้คะแนนสอบ สมัครโดยตรงกับเว็บมหาวิทยาลัย เหมาะกับน้อง ๆ ที่มีความสามารถพิเศษ และอยู่ในพื้นที่ตามที่คณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด โดยในรอบโควตานี้ จะมีทั้งโควตาพื้นที่ โควตาโรงเรียน และโควตาความสามารถพิเศษด้วย

           รอบที่ 3 Admission (ยกเลิกเกณฑ์ Admission 2 ที่ใช้คะแนน O-NET เป็นสัดส่วนในการคัดเลือก 30%)  แต่มหาวิทยาลัยสามารถออกเกณฑ์หลายรูปแบบได้ภายในรอบนี้ เหมาะกับน้องๆ ที่เน้นฟิตการฝึกทำข้อสอบ เพราะรอบนี้เน้นการใช้คะแนนสอบกลางเป็นหลัก (สมัครที่ https://www.mytcas.com/ )

           รอบที่ 4 Direct Admission สมัครโดยตรงกับเว็บมหาวิทยาลัย และในปีนี้จะมีเพิ่มขั้นตอนการยืนยันสิทธิ์ในระบบ myTCAS หลังสอบติดด้วย หากสอบติดแล้วไม่เข้าไปยืนยันสิทธิ์ ก็จะถือว่าไม่มีสิทธิ์เข้าศึกษา รอบนี้เหมาะกับน้อง ๆ ที่อาจจะยังไม่ได้สมัครในรอบก่อนหน้า หรือ พลาดจากรอบก่อน ๆ

การคำนวณคะแนน

ความหมาย

     ค่าน้ำหนักที่ใช้ (%) คือ ค่าน้ำหนักของรายวิชาที่จะต้องนำมาใช้ เป็นองค์ประกอบในการคำนวณคะแนนตามสัดส่วนต่าง ๆ

     เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ (%)  คือ การกำหนดเงื่อนไข เกณฑ์คะแนนของรายวิชาว่าผู้สมัครจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่กำหนด

GAT (General Aptitude Test)

     เป็นการทดสอบความพร้อมก่อนจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย  โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ  ส่วนที่ 1 ภาษาไทยหรือที่เราเรียกกันว่า GAT เชื่อมโยงในด้านนี้เป็นการวัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งคะแนนในส่วนนี้เต็ม 150 คะแนน หากตอบผิดหรือเชื่อมโยงผิดก็จะถูกหักคะแนน  ส่วนที่ 2 ภาษาอังกฤษ หรือที่เราเรียกว่า GAT ENG เป็นการวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษมีทั้ง Speaking and /Conversation/Vocabulary/Structure and Writing/Reading Comprehension ในส่วนนี้คะแนนเต็ม 150 คะแนน รวมกันสองส่วนนี้เป็น 300 คะแนนเต็ม

PAT (Professional and Academic Aptitude Test)

     เป็นการทดสอบความถนัดทางด้านวิชาการและวิชาชีพ หรือเป็นการวัดความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ เพื่อดูว่านักเรียนมีแววที่จะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม โดยมี 7 สาขาวิชาตามกลุ่มวิชาชีพดังนี้คือ

     PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์

     PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

     PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

     PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

     PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู

     PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

     PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย

          PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
          PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
          PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
          PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
          PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
          PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

9 วิชาสามัญ

     คือ ข้อสอบกลางที่จัดสอบ เพื่อใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย  แต่เดิมจะสอบเพียง 7 วิชา แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ จึงเพิ่มอีก 2 วิชาเข้าไป รวมเป็น 9 วิชา ดังนี้

     1. วิชาภาษาไทย
     2. วิชาสังคมศึกษา
     3. วิชาภาษาอังกฤษ
     4. วิชาคณิตศาสตร์ 1
     5. วิชาฟิสิกส์
     6. วิชาเคมี
     7. วิชาชีววิทยา
     8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
     9. วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (สายศิลป์)